Friday, June 18, 2004

จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน

เมื่อภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจ จงทำดังนี้ เวลาหายใจเข้านึกว่าพุทธ เวลาหายใจออกนึกว่าโธ ภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจตามนี้ไปเรื่อย ๆ ไปตามสบาย ถ้าอารมณ์ใจสบายก็ภาวนาเรื่อย ๆ ไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใจหงุดหงิด หรือฟุ้งจนตั้งอารมณ์ไม่อยู่ก็จงเลิกเสีย จะเลิกเฉย ๆ หรือดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุ หรือหาเพื่อนคุยให้อารมณ์สบายก็ได้ (เป็นการผ่อนคลายอารมณ์) อย่ากำหนดเวลาตายตัวว่าต้องนั่งให้ครบเวลาเท่านี้ แล้วจึงจะเลิก ถ้ากำหนดอย่างนั้น เกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านขึ้นมาจะเลิกก็เกรงว่าจะเสียสัจจะที่กำหนดไว้ ใจก็เพิ่มการฟุ้งซ่านมากขั้น ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ จะเป็นโรคบ้า ขอทุกท่านจงอย่าทำอย่างนั้น
หลวงปู่ฤาษีลิงดำ P659
ความเห็นเพิ่มเติม อันนี้ผมว่าท่านสอนให้ทำสมถะ นะครับคือ สมถะเนี่ยถ้าไปไม่ไหวไปฝืนมัน มันไปลำบากต้องทำอันที่เราชอบ เราถูกจริต ทำแล้วสบาย สงบง่าย แต่ถ้าจะเดินวิปัสนา พระพุทธเจ้าท่านให้รู้ตามสภาวะไปเลย ถึงจิตจะฟุ้งซ่าน ท่านก็ให้รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ตามอ้างอิงใน จิตตานุปัสสนา มหาสติปัฏฐานสูตร ดังข้างล่างนี้
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคตจิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่าจิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่ เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ